สารเสพติด หรือ ยาเสพติด
ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก
หมายถึงสารที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้
และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522
ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้นิยามสารเสพติดให้โทษดังนี้ สารเสพติดให้โทษ หมายถึง
"สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม
สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น
ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ
มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา
และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช
หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ
และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้
ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ
ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ประเภทของสารเสพติด
จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน
ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด
รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน ยาม้าเป็นต้น
มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี
โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย
จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ
เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย
ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว
ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้
ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน
ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว
ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ กัญชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น