เชิญชมวีดีโอครับ
กัญชา
กัญชา เป็นการเตรียมต้นกัญชาโดยตั้งใจใช้เป็นยาที่ออกฤทธิ์
ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรค ในทางเภสัชวิทยา องค์ประกอบ
ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลักของกัญชา คือ เตตระไฮโดรแคนนาบิ
นอล (THC) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งจาก 483 ชนิดที่ทราบว่าพบในต้นกัญชา ซึ่งสารอื่นที่พบมีแคนนาบินอยด์อีกอย่างน้อย 84 ชนิด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) แคนนาบินอล (CBN) เตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน (THCV) และ แคนนาบิเจอรอล (CBG)
ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรค ในทางเภสัชวิทยา องค์ประกอบ
ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลักของกัญชา คือ เตตระไฮโดรแคนนาบิ
นอล (THC) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งจาก 483 ชนิดที่ทราบว่าพบในต้นกัญชา ซึ่งสารอื่นที่พบมีแคนนาบินอยด์อีกอย่างน้อย 84 ชนิด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) แคนนาบินอล (CBN) เตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน (THCV) และ แคนนาบิเจอรอล (CBG)
มนุษย์มักบริโภคกัญชาเพื่อผลที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสรีรวิทยาของมัน
ซึ่งรวมถึงภาวะเคลิ้มสุข ความผ่อนคลาย และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงไม่พึงปรารถนาบางครั้งรวมถึงความจำระยะสั้นลดลง
ปากแห้ง ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง ตาแดง และรู้สึกหวาดระแวงหรือวิตกกังวล
ปัจจุบันกัญชาใช้เป็นยานันทนาการหรือยารักษาโรค
และเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนาหรือวิญญาณ มีบันทึกการใช้กัญชาครั้งแรกตั้งแต่สหัสวรรษที่
3 ก่อนคริสตกาล นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่
20 กัญชาถูกจำกัดตามกฎหมาย โดยปัจจุบันการครอบครอง
การใช้หรือการขายการเตรียมกัญชาปรุงสำเร็จซึ่งมีแคนนาบินอยด์ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทผิดกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก
สหประชาชาติแถลงว่า กัญชาเป็นยาผิดกฎหมายที่ใช้มากที่สุดในโลก ในปี
2547 สหประชาชาติประมาณการบริโภคกัญชาทั่วโลกชี้ว่าประมาณ
4% ของประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลก (162 ล้านคน)
ใช้กัญชาทุกปี และประมาณ 0.6% (22.5) ใช้ทุกวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น