กระท่อม
เป็นไม้ยืนต้น ที่จัดเป็น
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามความใน พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา
7 ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งสิ่งเสพติดในประเภท 5 ได้แก่ กัญชา และพืชกระท่อม
สารเสพติดที่พบ
สารสำคัญที่พบในใบกระท่อมคือ ไมทราไจนีน
ล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้น
และทนต่อ
ความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ใช้ใบกระท่อม
สามารถ
ทำงานกลางแจ้ง ได้ทนนานขึ้น
ข้อห้ามสำหรับเยาวชน
ทั้งใบกระท่อมและสารที่สกัดจากกระท่อมเกือบทุกชนิด
มีฤทธิ์ต่อสมองและจิตประสาท
ใช้สำหรับผู้ที่ต้องตรากตรำทำงานหนักมากๆและนานๆจนเกิดอาการปวดเมื่อยรุนแรง
รู้สึกเหนื่อยล้าทำงานไม่ไหว เช่น กรรมกรตัดอ้อย กรรมกรก่อสร้าง กรรมกรแบกหาม
เป็นต้น
กระท่อมจึงเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับเยาวชนซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในวัยที่ต้องศึกษาเล่าเรียน
ผู้ซึ่งทำงานที่ต้องใช้สมองและสติปัญญา
ผลจากการเสพ
มากๆหรือเป็นระยะเวลานาน
มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ
เม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง
ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น
และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบ
ก่อน
อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" ในลำไส้ได้
เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตก
ตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืด
ขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุง
ขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพ
หลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตก
ตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืด
ขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุง
ขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพ
หลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น